BMW E34 DIY

การเปลี่ยนเทอร์โมสตัต BMW E34 M50
How to Replace Thermostat of BMW E34 M50 Engine.

l โดย รองศาสตราจารย์บุญชัด เนติศักดิ์ l MAIN MENU l

เทอร์โมสตัต ... Thermostat ...

    เทอร์โมสตัต หรืออาจเรียกว่า "วาวล์น้ำ" จะใส่ขวางไว้ในทางเดินของระบบน้ำหล่อเย็นของเครื่องยนต์ เพื่อควบคุมให้อุณหภูมิของน้ำขึ้นสูงถึงจุดทำงานของเครื่องยนต์ โดยปกติขณะน้ำยังไม่ร้อนวาวล์นี้จะปิด ถ้าติดเครื่องยนต์ปั๊มน้ำจะหมุนเวียนเฉพาะน้ำในเครื่องยนต์เท่านั้น เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามค่าเปิดของเทอร์โมสตัต (เช่น อาจเป็น 71 , 82 , 88 องศา C) เทอร์โมสตัตจะเปิดให้น้ำไหลผ่านรูน้ำของตัวมันไปให้พัดลมระบายความร้อนออกที่หม้อน้ำ เมื่อระบายความร้อนออกแล้วน้ำจะไหลกลับเข้ามาที่เครื่องยนต์อีก หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ (หลักการของมัน = น้ำเย็นวาวล์ปิด น้ำร้อนวาวล์เปิด)

    กรณีวาวล์น้ำไม่เปิด ... จะเป็นอย่างไร เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน วาวล์จะปิดกั้นให้น้ำหล่อเย็นหมุนเวียนอยู่ในเครื่องยนต์ ไม่ออกมาที่หม้อน้ำ ความร้อนจะสะสมในเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าระบบป้องกันดีเครื่องยนต์จะดับและสตาร์ตไม่ได้จนกว่าเครื่องจะเย็น ถ้าระบบป้องกันไม่ดีความร้อนจะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดพังของเครื่องยนต์ เกิดความเสียหาย เช่นเพลาข้อเหวี่ยงละลาย ถ้าเป็นอย่างนี้ .... เศร้าแน่ๆ

    ถ้ายังงั้น ... ถอดทิ้งซะ จะดีไหม บางท่านที่หัวหมอหน่อย ... อาจบอกว่าถอดทิ้งประหยัดและทำให้เครื่องเย็น .... ครับถูกต้องของท่าน แต่...ว่าไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำหล่อเย็นจะออกมาให้พัดลมเป่าระบายความร้อนตลอดเวลา ความร้อนของเครื่องยนต์อาจไม่ขึ้นหรือขึ้นช้ามาก กว่าจะถึงจุดทำงานเครื่องยนต์ก็สึกหรอไปมากแล้ว และถ้าเป็นรถติดเชื้อเพลิงแก๊สกว่าจะอุ่นแก๊สได้ที่ ... ก็นาน ...เปลืองเบนซิน

    ความเห็นของผมคือต้องมีใส่ไว้ครับ ... เจ้าเทอร์โมสตัตตัวนี้ สำคัญนะครับ มันจะช่วยรักษาอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่ในช่วงหนึ่ง เช่น 70 - 99 องศา C การทำงานของเครื่องยนต์ก็จะปลอดภัย ได้ประสิทธิภาพสูง การสึกหรอต่ำ

    รถบีเอ็มดับเบิลยู BMW 525iA ที่ใช้เครื่องยนต์ M50TU ของผม เคยมีปั๊มน้ำเสียและได้เปลี่ยนไปแล้วตั้งแต่ปี 2548 ผมก็มานึกๆ ดูว่าอุปกรณ์ในระบบน้ำระบายความร้อนมันน่าจะมีอายุใช้งานเท่าๆ กัน ก็วิตกกังวลว่าเจ้าเทอร์โมสตัตหรือวาวล์น้ำที่อยู่ในระบบน้ำระบายความร้อนมันน่าจะเสียในเวลาใกล้เคียงกับปั๊มน้ำ ผมจึงได้ซื้ออะไหล่เทอร์โมสตัตตัวใหม่มาเตรียมไว้ตั้งแต่ปี 2549 ว่าจะลงมือเปลี่ยนแต่ก็ผลัดผ่อนเรื่อยมา

    จนได้โอกาสรื้อเครื่องออกมาเมื่อ 1 ก.ค. 2551 พอถอดฝาครอบวาวล์น้ำออกมาได้ เท่านั้นแหละ แทบหงายหลังเลย …. เจ้าวาวล์น้ำมันพังเป็นชิ้นๆ คาอยู่ในที่ของมัน ก็นับว่าโชคดีที่ไม่ได้อุดตันขัดขวางทางเดินของน้ำหล่อเย็น มีช่องพอให้น้ำไหลระบายความร้อนได้ แต่สูญเสียคุณสมบัติในการเปิดปิดตามอุณหภูมิไปแล้ว พอติดเครื่องยนต์น้ำหล่อเย็นก็จะไหลเข้าหม้อน้ำให้พัดลมเป่าระบายความร้อนตลอดเวลา กว่าอุณหภูมิจะร้อนได้ที่ถึงจุดใช้งานก็กินเวลานาน

    อาการทางความร้อน การขับใช้งานปกติผมไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติ เข็มความร้อนจะชี้อยู่ประมาณ 11.00 น. (เกือบครึ่งสเกล) ก็ถือว่าปกติดี แต่เคยมีครั้งหนึ่งขับตอนเช้ามืดหน้าหนาว ราวตีสี่ ไป อ.แม่สอด จ.ตาก สังเกตเข็มความร้อนไม่ขึ้นเลย ชี้อยู่ในช่วงสีน้ำเงิน กว่าจะขึ้นก็เกือบแปดโมงเช้า คิดว่าวาวล์น้ำไม่ปิด พัดลมจึงเป่าระบายให้น้ำเย็นอยู่ตลอดเวลา (วันนั้นไม่กล้าเร่งความเร็วมาก เพราะอุณหภูมิเครื่องยนต์ไม่ถึงจุดทำงาน)




    ก่อนอื่น .....
    เรามาศึกษาชิ้นส่วนของเทอร์โมสตัตสักเล็กน้อย



    โปรดดูภาพด้านขวา

  • หมายเลข 4 คือฝาครอบเทอร์โมสตัต
  • หมายเลข 5 คือตัวเทอร์โมสตัต
  • หมายเลข 6 คือยางโอริง (สีดำ)
  • หมายเลข 8 คือซีลยางทางเดินน้ำ (สีส้ม)


    หมายเหตุ
    - ชิ้นส่วนที่ต้องเปลี่ยนคือ หมายเลข 5, 6, และ 8
    - หมายเลข 7 ไม่ต้องใช้

(E34 525i WATERPUMP - THERMOSTAT
ที่มา http://www.realoem.com/bmw/)




สาเหตุ ... ที่ผมต้องเปลี่ยนเทอร์โมสตัต

1. อายุของมันนานมากแล้ว (แก่ … )
ในชีวิตนี้ยังไม่เคยเปลี่ยน วิ่งมาแล้ว 121,000 ก.ม.

2. เช็คระบบน้ำหล่อเย็นเพื่อให้เชื่อมั่นในการใช้เชื้อเพลิงแก๊ส LPG
ก็เลยต้องรื้อระบบชิ้นส่วนข้างในออกมาดู ถึงแม้มันไม่เสียก็ต้องเปลี่ยน
มันหมดอายุใช้งานไปแล้ว

3. เมื่อถอดออกมาดู ตัวมันหลุดเป็นชิ้นๆ มันเสีย
ซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนใหม่อย่างเดียวเท่านั้น


ตามรูปข้างซ้ายนี่แหละ ...... สภาพที่ผมถอดออกมา



ตัวที่ถอดออกมา ล้างขัดสนิมออก
เพื่อที่จะอ่านค่ารายละเอียดของมัน


มองเห็นค่าอุณหภูมิการเปิดของมันที่ 88 องศา C
ผลิตเมื่อ เดือน 05 ปี 1995


การติดตั้งต้องให้ลูกศรอยู่ด้านบน ชี้ขึ้นข้างบน
(แบบนี้ไม่มีรูระบายน้ำ)
    เตรียมชิ้นส่วนอะไหล่


  • เทอร์โมสตัต (Thermostat) หรือวาวล์น้ำ ตัวใหม่เอี่ยม 1 ตัว
  • ตอนซื้อ บอกที่ร้านอะไหล่ว่าใช้กับเครื่องยนต์ M50 ของ BMW
    พร้อมโอริง ซึ่งเขาจะให้มาพร้อมกันในกล่อง
  • เปิดกล่องอ่านดูค่าองศาการเปิดรูน้ำ (ควรใช้ค่าเท่าของเดิม)
    (หรืออยู่ระหว่าง 71-88 องศา C)

  • ยางโอริงตัวสีดำ 1 วง เขาจะให้มาพร้อมกับเทอร์โมสตัต
  • ซีลยางตัวสีส้ม 1 ตัว รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู (ซื้อต่างหาก)
  • ซีลยางและโอริงเป็นตัวกันน้ำรั่ว
    (กรณีซื้อไม่ได้สามารถใช้ซีลตัวเก่าทาเพิ่มด้วยกาวซิลิโคน พอใช้ได้)

  • อุณหภูมิเปิดวาวล์เมื่อน้ำร้อน 71 องศา C

    (ตอนที่ซื้ออะไหล่ ยังไม่ได้ถอดตัวเก่า
    จึงไม่ทราบค่าอุณหภูมิ ว่าของเดิม 88 องศา
    ซื้อตัวใหม่มาได้ 71 องศา ก็ตกลงใช้ตัวนี้ OK ลุย ....)

  • มีรูเล็กๆ ระบายน้ำ 1 รู
  • ตอนติดตั้ง ต้องให้รูระบายน้ำนี้อยู่ด้านบน


    เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์


  • ประแจบ๊อก 10 ม.ม. ควรใช้ตัวเล็ก
    (หรือแบบอื่นที่สอดเข้าหมุนน๊อตได้ ในพื้นที่แคบ)
  • ประแจบ๊อก 13 ม.ม.
  • ไขควงแฉก สำหรับถอดเข็มขัดรัดท่อยางหม้อน้ำ
  • ไขควงปากแบนเล็ก สำหรับแงะซีลยางออก
  • กาละมังใบใหญ่ สำหรับรองน้ำที่ปล่อยจากหม้อน้ำ



ขั้นตอนการเปลี่ยนเทอร์โมสตัต

ตำแหน่งเทอร์โมสตัตของเครื่องยนต์ M50 อยู่หน้าเครื่อง ตามศรชี้


  • ปล่อยน้ำหล่อเย็นออกจากหม้อน้ำ
  • ถอดสายยางหม้อน้ำที่ต่อกับฝาครอบเทอร์โมสตัตทั้งสองด้านออก
  • ถอดกะบังลมหม้อน้ำออก
  • ถอดพัดลมหน้าเครื่องยนต์ออก
  • ฝาครอบเทอร์โมสตัตเป็นไฟเบอร์สีน้ำตาลดำ
  • โบลต์(น๊อตตัวผู้)ที่ใช้ยึดด้านบน 2 ตัว
  • ตัวซ้าย 10 ม.ม. ตัวขวา 13 ม.ม. ถอดออกทั้ง 2 ตัว
  • การถอดใช้ประแจบ๊อกสอดเข้าไปหมุนออก
  • ผมทำประแจโดยดัดแปลงเชื่อมให้พอดี
  • ประแจปากตาย ประแจแหวน หรือบ๊อกตัวหนา ใช้ไม่ได้
  • ต้องลองดู ประแจตัวไหนสอดเข้าไปหมุนได้ก็ใช้อันนั้น
  • โบลต์ยึดด้านล่างอีก 2 ตัว
  • 10 ม.ม. ถอดออกทั้ง 2 ตัว
  • ถอดหมดแล้ว พยายามดึงฝาครอบเทอร์โมสตัตออกมา แต่มันยังไม่ออก
  • ต้องหมุนโบลต์ตัวบน ที่เป็นกราวด์เครื่อง ถอดให้หลวม
  • แล้วค่อยๆ ขยับฝาครอบให้หลุดออกมา (เหล็กตัวบนทับมันอยู่)
  • ต้องลองถอดเอง .... แล้วจะถึงบางอ้อ ...ว่ามันเป็นเช่นนี้เอง
  • ฝาครอบเทอร์โมสตัตถอดออกมาแล้ว
  • ข้างในมีสีเหลืองของสนิมตะกอนเคลือบอยู่ในท่อ
  • สนิมสีเหลือง สวย ..เหมือนทอง แต่ไม่ดีเลย
  • เพราะจะทำให้ระบายความร้อนไม่สะดวก ถ้ามีมากอาจทำให้ท่อตัน

    เสียว ... นึกถึงเคอเรสเตอรอล.... อุดตันในเส้นเลือด
  • ดูด้านเครื่องยนต์
  • เห็นเทอร์โมสตัต (ซ้าย) และรูน้ำเข้า (ขวา)
  • อะ ..... ึย .. ยึอืย..! ..
  • ..เทอร์โมสตัต ... ทำไมมันมีอะไรผิดปกติ
  • ดูชัดๆ
  • โอ .... แทบหงายหลัง
  • เจ้าเทอร์โมสตัต ขามันหลุด คาอยู่ในรูทางเดินน้ำ
  • ดีที่ขามันคา ... อ้า... ให้มีช่องน้ำผ่านได้
  • แงะเอาออกมาข้างนอก
  • อนิจจา .... เป็นชิ้นๆ แบบที่เห็น
  • คิดว่า ... ที่ตัดสินใจถอดออกเปลี่ยนครั้งนี้
    ... คุ้ม คุ้ม ..



    BRAKE... ขอเวลานอก...
  • ต้องนั่งพัก ... ดื่มกาแฟ ... ถอนใจให้โล่งก่อน
  • แล้วทำใจ .. ขอบคุณสิ่งศักสิทธิ์
  • ไปมาตั้งหลายพันกิโลเมตร นับว่าโชคดีที่ปลอดภัย
  • แงะซีลยางออกจากฝาครอบ
  • ทำความสะอาดร่องที่ใส่ซีล และรอบช่องที่ใส่เทอร์โมสตัต
  • ขูดคราบตะกอนหินปูน สนิม เช็ดให้เรียบ
  • ซีลยางตัวใหม่ นำมาเตรียมไว้
  • ใส่ซีลยางตัวใหม่ในร่องของมัน ใช้นิ้วมือกดให้แนบแน่น
  • เทอร์โมสตัต ตัวใหม่
  • ใส่โอริงเข้าไปให้เรียบร้อย
  • ทำความสะอาดรูน้ำหน้าเครื่องยนต์ให้สะอาด
  • เอาเทอร์โมสตัตใส่เข้าไปในช่องหน้าเครื่องยนต์
  • ด้านที่เป็นสปริง ใส่เข้าด้านใน
  • ดันเข้าในช่องให้แน่น
  • สำคัญ .... สำคัญ ....
  • ... รูเล็กระบายน้ำ ต้องอยู่ด้านบน นะครับ ดูให้ดี

    (ถ้าเป็นรุ่นที่มีลูกศร ให้ลูกศรอยู่ด้านบน ชี้ขึ้น)
  • ใส่ฝาครอบ กดทาบลงให้รูยึดทั้งสี่ตรงรูของมัน
  • ขันโบลต์ทั้งสี่ตัวให้แน่น
  • ขันโบลต์ด้านบนที่เป็นกราวด์เครื่องด้วย
    ... อย่าลืม
  • ตรวจให้แน่ใจว่าขันแน่นทุกตัว
  • ใส่ชิ้นส่วนที่ถอดไว้กลับเข้าที่เดิม
  • ใส่ท่อยางหม้อน้ำ ใส่พัดลม ใส่กะบังลม
  • ทำย้อนตอนถอด

    - เติมน้ำหม้อน้ำ
    - ติดเครื่องยนต์ ไล่อากาศในระบบน้ำหล่อเย็น
    - ตรวจการรั่วของน้ำทุกที่ที่ถอดและใส่
    - เมื่อไม่มีที่รั่ว งานของเราก็สำเร็จ
  • สรุปค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนเทอร์โมสตัต
    ประมาณ xxx บาท (ไม่รวมน้ำยาหล่อเย็นหม้อน้ำ)
  • ค่าเทอร์โมสตัตตัวใหม่(รวมโอริง) = xxx บาท
  • ค่าซีลยาง(ตัวสีส้ม) = 50 บาท
    (ขออภัย .... กำลังค้นบิล เจอแล้วจะใส่ราคา)



  • ภาคภูมิใจ .... งานซ่อมด้วยฝีมือของเราเอง..

    - จดบันทึกการซ่อม เตือนความจำ
    - ว/ด/ป 10/07/2551 เลขระยะทาง 121,065 ก.ม.
    - น่าจะวิ่งได้อีกราว 80,000 ก.ม.
    - เปลี่ยนครั้งต่อไปที่ 200,000 ก.ม.
  • วัดอุณหภูมิการใช้งานจริง

  • วัดหลังจากวิ่งระยะทาง 6 ก.ม.
    ด้วยความเร็ว 40-70 ก.ม./ช.ม.
    ที่อุณหภูมิภายนอก 32 องศา C
  • ที่ผิวนอกของท่อน้ำ วัดได้ 76 องศา C
  • ที่เครื่องยนต์ วัดได้ 81 องศา C





  • ทำเอง .... ถูกใจและภูมิใจ ....
    งานนี้ ก้มๆ เงยๆ เสร็จแล้ว มีปวดหลังและเอวบ้างเล็กน้อย... ครับ



    Homepage of Associate Professor BOONCHAT NETISAK
    ADDRESS : 99/60 soi 9 PAHONYOTHIN ROAD AMPHER MUANG, LAMPANG THAILAND 52100
    Copyright © by BOONCHAT NETISAK, All Rights Reserved.

    [ BMW E34 DIY MAIN MENU ]