การติดตั้งระบบเชื้อเพลิงแก๊ส LPG
ในรถยนต์ MITSUBISHI LANCER EX 2000

l โดย คุณปู่ l MAIN PAGE l



      การติดตั้งระบบเชื้อเพลิงแก๊ส LPG ในรถยนต์ MITSUBISHI LANCER EX 2000
  • รถยนต์ MITSUBISHI LANCER EX 2000 ของลูกชาย เขาอยากติดแก๊ส LPG เราได้ปรึกษากันและหาข้อมูลเบื้องต้น มีข้อมูลจากบริษัทว่าอาจมีปัญหาถ้าติด LPG เมื่ออ่านเหตุผลของเขาที่อ้างไว้ เราไม่เชื่อตามนั้น การติดแก๊ส LPG จึงเป็นเรื่องของเรา ที่จะต้องคิด และแก้ปัญหาของเราเอง เราเชื่อมั่นว่า เราทำได้ เพราะ MITSUBISHI LANCER EX ก็เป็นเพียงรถยนต์ธรรมดาคันหนึ่งเท่านั้น

  • ใช้น้ำมันไปก่อน ตอนที่คิดจะติด LPG นั้น เป็นรถออกใหม่ ป้ายแดง เรายังไม่รู้จักพฤติกรรมของรถเลย จึงคิดว่าให้วิ่งใช้งานด้วยน้ำมันไปสักพักหนึ่ง ให้ระบบต่างๆ ของรถอยู่ตัวเสียก่อน ลองเหยียบดูสมรรถนะตอนใช้น้ำมันว่าเป็นอย่างไร เรียกว่ารู้มือ รู้เท้า เข้าขา กันก่อนว่างั้นเถอะ ซึ่งน่าจะลองใช้ไปสัก 10000 ก.ม. แล้วจึงค่อยติดตั้งระบบแก๊ส LPG

  • ศึกษาวงจรไฟฟ้าก่อน เนื่องจากเป็นรถออกใหม่ เรายังไม่เข้าใจการทำงานของระบบไฟฟ้า ว่าเขาออกแบบไว้อย่างไร ECU เป็นอย่างไร ระบบจุดระเบิดเป็นอย่างไร ระบบน้ำมันเป็นอย่างไร ถ้าเราไปแตะต้องจะเกิดผลเสียอะไรตามมาหรือไม่ วงจรนี้ต้องค้นหาโหลดมาทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีรายละเอียดที่เป็นประโยชน์มากในการติดตั้งเชื่อมโยงสายไฟ

  • ดูชิ้นส่วนของจริงในรถ ศึกษาตำแหน่งที่เหมาะสมในการติดตั้ง ตัวระเหยแก๊ส (หม้อต้ม) ตำแหน่งน้ำร้อน การติดตั้งหัวฉีด เป็นต้น ดูแนวการเดินสายไฟ การเดินท่อ การติดตั้งถัง ดูความเป็นไปได้และจะเป็นประโยชน์ในการเลือกขนาดของอุปกรณ์ให้เหมาะสม

  • การติดตั้ง ... เราวางแผนว่า งานหนักเราไม่ทำ เพราะงานหนักมันเหนื่อยและไม่ถนัด จึงให้ร้านช่วยติดตั้งถังแก๊ส ติดตั้งหัวเติมแก๊ส และเดินท่อแก๊สมารอไว้ที่ห้องเครื่องหน้ารถ งานที่เหลือเราจะติดตั้งกันเอง ระยะเวลาที่ติดตั้งไม่จำกัด เพราะจะทำให้ดีและถูกใจสปอนเซอร์ให้มากที่สุด เราทำงานกันตามอารมณ์ และใช้เวลาที่ว่างทำ 10 วันพอดี จูนแล้ว ... แล้วเลย ไม่ได้ทำอะไรต่ออีกเลย ... จบ

  • การใช้งาน ... LPG การใช้งาน เป็นระบบเชื้อเพลิงคู่ ใช้น้ำมันสตาร์ทและอุ่นเครื่อง เมื่อครบเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ระบบจะสลับจากน้ำมันไป LPG โดยอัตโนมัติ ต้องเติมน้ำมันไว้ครึ่งถังเสมอ เพื่อให้ระบบน้ำมันสมบูรณ์ตลอดเวลา และเพื่อรองรับการสลับกลับมาโหมดน้ำมันกรณีระบบ LPG ตรวจพบข้อบกพร่องหรือเพาเวอร์ไม่พอ

  • ผล ... การใช้งาน เห็นเจ้าของเขาใช้รถเป็นปกติ ยังไม่ได้ยินเสียง บ่น หรือพูดอะไรเกี่ยวกับรถ ว่า .... ไม่ดีเลย


    หมายเหตุ เราเลือกชุด LPG ที่ราคาไม่แพง เน้นให้เข้ากับระบบเดิมของรถได้ แบบไม่มีปัญหา ลองติดตามอ่านดู นะครับ มีรูปให้ละเอียด ทุกขั้นตอน




    [ More Information : wasi_netisak@hotmail.com ]


การติดตั้งระบบแก๊ส LPG ใน MITSUBISHI LANCER EX 2000
  • ชุด KIT แก๊ส LPG ที่ซื้อมา ได้เป็นกล่องกระดาษ
  • รายการอุปกรณ์แก๊สที่อยู่ในกล่อง
  • แง้ม เปิดฝากล่องออก มองเห็นอุปกรณ์ข้างใน
  • ที่ต้องซื้อต่างหาก คือ ท่อยางแก๊สและท่อยางน้ำร้อน
  • ผู้ช่วย มาช่วยเปิดกล่อง ช่วยตรวจอุปกรณ์
  • สงสัยมาก..... มันคืออะไร มีขนมหรือเปล่า
  • อุปกรณ์หัวฉีดแก๊ส แบบ 4 หัวติดกัน
  • สวิตช์กดสลับน้ำมัน-แก๊ส และฟิวส์
  • กรองแก๊ส มีตัว MAP sensor ยี่ห้อ Bosch ติดอยู่ด้วย
  • ECU 2 ปลั๊ก
  • ใช้กับเครื่องยนต์ 4 สูบ
  • หม้อต้มหรือตัวระเหยแก๊ส
  • มีกรองแก๊สและโซลีนอยด์วาล์วอยู่ด้วย
  • มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำร้อนฝังไว้ที่หม้อต้ม (สายไฟ สีดำและสีแดง)
  • ใบเอกสารของหม้อต้ม
  • น๊อตปรับแรงดันแก๊สที่ต่อไปยังสุญญากาศของเครื่องยนต์
  • น๊อต ตาไก่ สำหรับต่อท่อทองแดงนำแก๊สเข้า
  • ชุดสายไฟ
  • อุปกรณ์อื่น เช่น คลิปรัดท่อ นอเซิล รูหัวฉีด และยางยึดวาล์วหัวฉีด
  • นอเซิล เป็นท่อทองเหลือง มีเกลียวสำหรับฝังที่ท่อไอดี เพื่อฉีดแก๊สให้พุ่งเข้าไปในกระบอกสูบของเครื่องยนต์
  • กรองแก๊ส และ MAP Sensor
  • อีกมุมหนึ่งของกรองแก๊ส และ MAP Sensor มีที่เสียบปลั๊ก
  • ลูกศรแสดงทิศทางการไหลของแก๊ส
  • หัวต่อที่ใช้ฝังกับท่อไอดี เพื่อต่อสายสุญญากาศไปยังหม้อต้ม
  • เหล็กแผ่นแบน มีรู สำหรับยึดอุปกรณ์
  • ท่อยางขนาดต่างๆ คือท่อแก๊ส ท่อน้ำร้อน ท่อสุญญากาศ
  • ท่อยางน้ำร้อน ความโต 5/8 นิ้ว
  • ท่อยางแก๊ส 2 ขนาด
  • แผ่น CD โปรแกรมจูนแก๊ส
  • สายจูนสำหรับต่อเชื่อมสัญญาณจาก ECU เข้าคอมพิวเตอร์
  • พิจารณาที่หลุมล้ออะไหล่ของ LANCER EX มันตื้นมาก ไม่เหมาะที่จะใช้ถังโดนัท
  • จึงใช้ถังแคปซูล เพราะติดตั้งง่ายสะดวกกว่า และยังใช้เก็บยางอะไหล่ได้เหมือนเดิม ไม่ต้องดัดแปลงหรือเสียฟังก์ชั่นอะไรไป
  • เริ่มงาน พิถีพิถันกันหน่อย ผ้ายางปูกันขูดขีดสี 3 ผืน
  • ลงมือแล้ว บรรจงใช้ไขควง หมุนน๊อตยึดฝาครอบเครื่องยนต์
  • ยกแผ่นพลาสติก ฝาครอบเครื่องยนต์ออกมา
  • เปิดฝาครอบเครื่องยนต์ออก จะมองเห็นท่อไอดี
  • ท่อไอดีคือท่อที่โค้ง มี 4 ท่อ เท่ากับจำนวนสูบของเครื่องยนต์
  • ต่อไปถอดท่ออากาศเข้าหม้อกรองออก
  • ถอดตัวเรือนกล่องไส้กรองอากาศออก
  • ก่อนยกกล่องไส้กรองออกต้องถอดปลั๊กเซนเซอร์วัดปริมาณอากาศออกด้วย
  • ห้องเครื่องเมื่อถอดกล่องไส้กรองอากาศออกแล้ว
  • ต่อไปถอดตัวเรือนของลิ้นเร่งหรือปีกผีเสื้อออก
  • มีท่อน้ำเล็กๆ ติดอยู่ที่ตัวเรือนปีกผีเสื้อ ซึ่งจะต้องถอดออก ปล่อยน้ำหล่อเย็นไหลออก ต้องหาภาชนะรองใต้รถ
  • ตัวเรือนปีกผีเสื้อที่ถอดออก วางไว้ให้ปลอดภัย
  • เริ่มถอดหัวฉีดน้ำมัน โดยการถอดปลั๊กออกทั้ง 4 ตัว
  • ถอดรางหัวฉีดน้ำมันออกมา โดยเมื่อหมุนน๊อตออกแล้ว ดึงรางชุดหัวฉีดขึ้นมาตรงๆ
  • จากนั้นก็ถอดท่อไอดี โดยใช้ประแจบ๊อกด้ามยาวสอดเข้าไป ต้องทดลองดูว่าประแจตัวไหนเข้าได้ ต้องใช้ตัวบางๆจึงจะเข้าได้เพราะช่องที่สอดเข้าแคบมาก
  • ท่อไอดี ถอดออกมาได้แล้ว
  • ที่รูท่อไอดี ต้องใช้กระดาษอุดไว้ด้วยกันสิ่งแปลกปลอมตกเข้าไป
  • เช็ดทำความสะอาดท่อไอดี แล้วเจาะฝังนอเซิล
  • เล็งตำแหน่งการฉีด ให้ทำมุมเอียงพุ่งเข้าที่วาล์วไอดี
  • ใช้ดอกสว่านเจาะรูนำก่อน แล้วใช้เกลียวของนอเซิลหมุนเข้าโดยตรง ไม่ต้องใช้เครื่องทำเกลียว
  • ระวังตัวนอเซิลเบียดชิดกับเสื้อสูบ เดี๋ยวจะมีปัญหาตอนใส่ท่อยาง ควรห่างมากกว่าความหนาของท่อยาง
  • นอเซิลทั้ง 4 ตัวที่ฝังแล้ว
  • การฝังนอเซิลต้องใส่น้ำยาล็อกเกลียวกันคลายที่เกลียวด้วย
  • สีแดงที่เกลียวของนอเซิล คือน้ำยาล็อกเกลียว
  • ความเอียงของนอเซิล ต้องเอียงพอดี ใส่เข้าได้ไม่ติดฝาสูบ
  • ปลายท่อนอเซิลที่โผล่ด้านใน
  • หัวต่อท่อสุญญากาศที่ฝังแล้ว
  • ผู้ช่วย คนที่ 1 นอนเฝ้า อยู่ด้านข้างรถ
  • ผู้ช่วย คนที่ 2 ช่วยใส่ท่อไอดี
  • ทำบ้าง พักบ้าง
  • เหนื่อยแล้ว พักยาว
  • ติดตั้งตัวระเหยแก๊ส (หม้อต้ม)
  • ได้ตำแหน่งหลังกรองอากาศ ชิดผนัง เหนือปั๊ม ABS
  • ไม่ต้องเจาะรถ พยายามใช้น๊อตที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์ โดยใช้เหล็กแผ่นแบนที่มีรูช่วยในการยึดติดตั้ง
  • ตรงนี้ใกล้ท่อน้ำร้อน สะดวกในการเดินท่อมาก
  • สายไฟที่เดินเข้าโซลีนอยด์วาล์วของหม้อต้ม ขั้วเสียบหุ้มท่อหดให้ปลอดภัย และสวยงาม
  • ท่อแก๊สที่มาจากถังด้านหลังรถ ต่อเข้ากรองแก๊ส ก่อนเข้าสู่หม้อต้ม
  • ตรงกลางเป็นท่อแวคคัมที่ไปต่อกับท่อไอดี เราสามารถปรับเพิ่มลดความดันแก๊สจากสกรูนี้
  • ติดตั้งกล่อง ECU ของ LPG เอาไว้ตรงซอกหลังซุ้มล้อ ข้าง ๆ ปั๊ม ABS มองเห็นปั๊กสีม่วง
  • ต่อสายไฟตามคู่มือที่มาในกล่องแก๊ส
  • ปลั๊กหัวฉีดน้ำมันที่ติดมากับชุดสายไฟนี้มันจะพอดีกับรถยุโรป ไม่สามารถเสียบของแลนเซอร์ได้
  • ต้องตัดปลั๊กทิ้งและใช้วิธีต่อสายทองแดงเข้าด้วยกันแล้วบัดกรี
  • มุดลงใต้รถ สำรวจหาตัว Oxigen Sensor (O2 หรือ Lambda)
  • O2 นี้ ECU ของ LPG ต้องการใช้ 2 ตัว
  • อ่านวงจรไฟของ LANCER Ex รถที่ขายในเมืองไทยบอกว่ามี 2 ตัว บางประเทศมี 3 ตัว (แคลิฟอร์เนียร์)
  • หาตัวยากเหมือนกัน กว่าจะหาพบครบทั้งสองตัว ก็นอนอยู่ใต้รถนานพอสมควร
  • Oxigen Sensor ตัวที่ 1 อยู่ที่ท่อไอเสีย หน้าแคตเตอร์ไลติค
  • Oxigen Sensor ตัวที่ 2 อยู่ที่ท่อไอเสีย หลังแคตเตอร์ไลติค ตอนกลางๆ รถ
  • ต้องใช้สัญญาณ O2 ทั้ง 2 ตัวมาต่อกับ ECU แก๊ส
  • เวลาต่อจริงต้องไปไล่สายไฟหาที่กล่องฟิวส์ ซึ่งจะง่ายกว่า แต่ก็ต้องหาต้นตอก่อนว่าตัวจริงอยู่ที่ไหน
  • จุดลงกราวด์ที่เลือกใช้ อยู่ใกล้กับแบตเตอรี่ โล่ง เข้าถึงง่าย สะดวกในการทำงาน
  • สายกราวเส้นใหญ่ต่อกับขั้วลบของแบตเตอรี่โดยตรง เราจะลงกราวด์ร่วมกับเส้นนี้
  • กราวด์ที่ต่อเรียบร้อยแล้ว
  • สายสีดำ 3 เส้น เป็นสายกราวด์มาจาก ECU ของ LPG และจากโซลีนอยด์วาล์ว
  • ต่อปลายสายไฟเข้าหางปลาอย่างดี หุ้มฉนวนท่อหด ขันน๊อตเข้ากับกราวด์เดิม
  • จุดนี้เสมือนต่อเข้าโดยตรงกับขั้วลบของแบตเตอรี่
  • เปิดกล่องฟิวส์ เพื่อหาลู่ทางว่าจะติดตั้งอย่างไรจึงจะดีที่สุด
  • สายไฟชุดแก๊ส ลองหาแนวเดินสายที่มิดชิดสวยงาม
  • หัวเสียบสายไฟ การเข้าสายใช้วิธีบีบแล้วบัดกรี เพื่อให้ไฟเดินสะดวก แก้ปัญหาในระยะยาว แล้วใช้ท่อหดหุ้มให้เรียบร้อย
  • จุดต่อไฟบวกจากแบตเตอรี่
  • ใช้สายไฟใหม่อีกหนึ่งเส้น ต่อหางปลาขันน๊อตกับขั้วบวกของแบตเตอรี่โดยตรง กระแสไฟนี้นำไปใช้เฉพาะระบบ LPG มีฟิวส์เพื่อความปลอดภัย
  • ตัวฟิวส์ 2 ตัวและตัวรีเลย์ที่ต่อไฟเข้าระบบแก๊สนำมาติดตั้งไว้ในกล่องฟิวส์
  • เราจะไม่ยุ่งกับสายไฟและอุปกรณ์ในกล่องนี้ เพียงแต่นำสายไฟของระบบแก๊สลอดเข้ามาเก็บให้ปลอดภัยเท่านั้น
  • ใช้วิธีวางตัวฟิวส์ และตัวรีเลย์ ไว้ตรงช่องว่าง แล้วใช้ฟองน้ำทับดันกับฝาครอบกันเลื่อน
  • นำสายไฟที่จำเป็นลอดเข้าภายในรถ คือสายสวิตช์ จุดลอดสายมีรูอยู่แล้วข้างซุ้มล้อขวา เหนือแป้นคันเร่ง มีจุกยางอุดไว้ เราต้องแงะจุกยางออก
  • กำลังมุดสำรวจรูแหย่สายไฟ ตัวใหญ่ลำบากหน่อย
  • ใช้ไฟส่องดู มีรูพร้อมสรรพ นับว่าโชคดีมากไม่ต้องเจาะรถ
  • นี่แหละ คือรูลอดสายไฟ กลมดิ๊ก..ใช้ได้เลย
  • สายไฟที่เห็นใช้มัดดึงนำสายของชุดสวิตช์แก๊สเข้ามา
  • นี่คือ ปลั๊ก OBD II (CAN) อยู่ใต้แผงเหนือเข่าขวาคนขับ
  • ให้รู้ไว้ ..... เท่านั้น ว่ารถมันทันสมัย
  • จะใช้งานหรือไม่ใช้งาน ก็ไม่เป็นไร

    หมายเหตุ ... OBD II (CAN) เอาไว้ให้ช่างเทคนิคเสียบปลั๊กคอมพิวเตอร์เข้าไปสื่อสาร ตรวจสอบข้อมูลการทำงานของระบบต่าง ๆ ของรถ ว่าทำงานดีไหม มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ก็ค้นหาจุดเสีย ปรับแต่งข้อมูลบางอย่าง หรือรีเซ็ตข้อมูล ซึ่งต้องมีเครื่องมือหรือโปรแกรมเฉพาะ
  • สายไฟลอดมาแล้ว ปิดรูให้เรียบร้อย
  • สวิตช์กดเลือก น้ำมัน/แก๊ส และหลอดไฟบอกปริมาณแก๊ส ติดตั้งไว้ด้านขวา ตรงตำแหน่งที่ว่าง มองเห็นชัด และกดสะดวก
  • เหอ ....เหอ .... แค่นี้ก็เอาแล้ว ฝีมือเราเอง ดีกว่านี้ ต้องคนอื่นทำ
  • วาล์วหัวฉีดแก๊ส LPG ติดตั้งไว้หลังพัดลม ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ไม่มีทางเลือก
  • ตรงนี้น่าจะดีที่สุด เดินท่อและเดินสายไฟสะดวก และไม่น่าเกลียด
  • ที่ไม่ชอบ คือ ต้องใช้สายฉีดแก๊สยาว ไม่ค่อยจะถูกต้องตามหลักการ แต่ก็สามารถปรับแก้ได้ตอนจูนครับ ไม่มีปัญหา แก้ด้วยซอฟต์แวร์
  • ท่อส่งแก๊สที่มาจากหม้อต้ม ผ่านตัวกรองแก๊ส และ MAP Sensor เดินท่อแอบไว้อย่างกลมกลืนกับกล่องกรองอากาศ
  • ปลั๊กสีขาว เป็นของระบบตัดหัวฉีดน้ำมัน ต่อไปเข้า ECU ของแก๊ส LPG

  • การจูนและการใช้งาน
  • ไปเติมแก๊สมาครั้งแรก ประมาณ 10 ลิตร
  • จอดรถไว้ในที่โล่งนอกบ้านก่อน หากมีอะไรอยู่นอกบ้านจะปลอดภัยและจัดการง่ายกว่า
  • ตรวจดูว่าแก๊สรั่วซึมไหม ใช้ฟองแชมพู โป๊ะรอบๆ ตรงข้อต่อท่อทองแดง พร้อมพิสูจน์กลิ่นแก๊สไปด้วย เหม็นแก๊สไหม ถ้าไม่ได้กลิ่น และตรวจด้วยฟองไม่พบก็เป็นอันเรียบร้อย
  • ขั้นต่อไปก็ลงมือจูน แบบออโต ไม่ยากอะไรให้คอมพิวเตอร์ทำให้ เรากดตามที่คอมพิวเตอร์ สั่ง

  • ... ไอ้ ห่ ... ทำไม จูนไม่ ได้ ... ว..ะ
    ... ใช้คอมฯ ตั้งสองเครื่อง ยังจูนไม่ได้ ช่างตัวใหญ่บ่น

  • โปรแกรมที่ใส่แผ่นมาให้เรา ไม่เวิร์ก ... เสียเวลาและเสียความรู้สึก .. นิดหนึ่งครับ ต้องไปหาโปรแกรมมาใหม่
  • ไม่มีปัญหา ได้โปรแกรมใหม่ แป๊บเดียว จูนได้เรียบร้อย
  • จูนแล้ว ตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์อีกครั้ง ใส่ทุกชิ้นให้ครบ
  • เอารถไปลองวิ่งใช้งานบนถนนจริง
  • ตอนที่ติดตั้ง 12,053 km.
  • ผลการติดตั้ง และใช้งาน OK ครับ ไม่มีอะไรฟ้องที่หน้าปัด
  • หลอดไฟแสดงแก๊สเต็มถัง
  • เสร็จเรียบร้อย และใช้งาน

  • เบื้องหลังการติดตั้ง
  • ช่างตัวจริง ตัวเล็กและตัวใหญ่
  • ช่างตัวเล็ก เหนื่อย ขอนอนพักผ่อน รอช่างตัวใหญ่
  • หนูอยากช่วย .... ได้ไหม คะ ... คุณปู่
  • ตอนช่างใหญ่เขาเผลอ ปู่ก็แอบช่วย หนิดหน่อย
  • ตรงนี้รื้อตั้งนาน ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
  • เนื่องจากเป็นครั้งแรก ไม่ทราบว่าตัวที่เราต้องการอยู่ตรงไหน จึงต้องรื้อถอดออกเพื่อหารูและสายไฟ
  • ท่านผู้อ่านที่ทำทีหลัง จะง่ายกว่าเยอะ แนะนำไว้ให้อย่างดีแล้วครับ
  • สปอนด์เซอร์ใหญ่ อาม่า คนจ่ายตังค์
  • ตรวจผลงาน ได้คะแนน 2 - OK
  • ยอดเยี่ยม QC. PASSED


  • [ More Information : wasi_netisak@hotmail.com ]



    Homepage of GRANDFATHER : BOONCHAT NETISAK
    Copyright © by BOONCHAT NETISAK, All Rights Reserved.
    Since 17/03/2011

    [ BMW E34 Do It Yourself ]