ผู้สอน : รองศาสตราจารย์ บุญชัด เนติศักดิ์
Lecturer : Associate Professor Boonchat Netisak

วิชา : ระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ 1
5572501 (Refrigeration and Air-Conditioning Systems 1)
ใบงานที่ 13 เรื่องการชาร์จน้ำยาเข้าระบบตู้เย็น
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้สามารถต่อเกจแมนิโฟลด์สำหรับชาร์จน้ำยาได้ถูกต้อง
  2. เพื่อให้สามารถชาร์จน้ำยาทำความเย็นเข้าระบบของตู้เย็นได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อให้สามารถตรวจสอบรอยรั่วของระบบหลังการชาร์จน้ำยาได้
  4. เพื่อให้รู้จักการปฏิบัติในการชาร์จน้ำยาที่ปลอดภัย
เครื่องมือ / วัสดุอุปกรณ์
    1. ตู้เย็นสาธิต
    2. แมนิโฟลด์เกจพร้อมสายชาร์จ (เลือกให้ตรงกับชนิดของน้ำยา R12 หรือ R134a)
    3. ถังน้ำยาทำความเย็น (เลือกให้ตรงกับระบบของตู้เย็น R12 หรือ R134a)
    4. คลิปแอมป์
    5. เครื่องปั๊มสุญญากาศ (กรณีต้องทำสุญญากาศก่อนชาร์จ)
ขั้นการปฏิบัติงาน (ปฏิบัติตามใบงานที่ 13)
1. สำรวจข้อมูลตู้เย็น ทำการบันทึกรายละเอียดแผ่นป้ายหลังตู้เย็น
2. ตรวจน้ำยาในระบบ
  1. ต่อสายสีน้ำเงินของแมนิโฟลด์เกจความดันต่ำเข้ากับวาล์วหัวศรสำหรับชาร์จน้ำยาที่คอมเพรสเซอร์
  2. อ่านค่าความดัน ถ้าได้ 0 PSI แสดงว่าไม่มีน้ำยาในระบบ ให้ทำสุญญากาศก่อน
  3. กรณีมีความดัน (สูงกว่า 0 PSI) แสดงว่าในระบบมีน้ำยา ให้เปิดวาล์วด้านความดันต่ำเล็กน้อยเพื่อไล่อากาศในสายออกแล้วปิดวาล์ว
  4. ทดลองเสียบปลั๊กตู้เย็น ให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน ประมาณ 15 นาที อ่านค่าความดัน ควรอยู่ระหว่าง 8 -12 PSI และจับดูอีแวโพเรเตอร์จะต้องเย็น แล้วใช้คลิปแอมป์ตรวจกระแสอยู่ในเกณฑ์ตามแผ่นป้ายหลังตู้เย็น แสดงว่าน้ำยาในระบบมีปกติ ไม่ต้องทำอะไรเพราะระบบสมบูรณ์
3. การชาร์จน้ำยาเข้าระบบ (หลังจากทำสุญญากาศ)
  1. ถอดปลายสายกลางสีเหลืองของแมนิโฟลด์เกจออกจากเครื่องปั๊มสูญญากาศแล้วต่อเข้ากับวาล์วหัวถังน้ำยา ถังน้ำยาตั้งปกติให้หัวตั้งอยู่ด้านบนเพื่อให้น้ำยาสถานะแก๊สออกไปใช้งาน
  2. เปิดวาล์วหัวถังน้ำยาประมาณครึ่งรอบ
  3. ใช้น้ำยาในสายไล่อากาศที่ค้างอยู่ในสายกลางของแมนิโฟลด์เกจ โดยคลายปลายสายด้านที่ติดกับแมนิโฟลด์เล็กน้อยปล่อยให้น้ำยาจากสายไล่อากาศออกทิ้ง แล้วหมุนปลายสายกลับเข้าให้แน่นตามเดิม(หรือจะใช้วิธีเปิดวาล์วด้านความดันสูงให้ไล่อากาศออกก็ได้ เพราะขณะนี้เราไม่ใช้เกจด้านความดันสูง)
  4. เปิดวาล์วด้านความดันต่ำสีน้ำเงินเล็กน้อย ให้น้ำยาสถานะแก๊สค่อยๆ ไหลเข้าระบบ จนอ่านค่าได้ประมาณ 10 PSI จึงปิดวาล์ว
  5. ใช้คลิปแอมป์ต่อคร่อมสายปลั๊กตู้เย็นไว้ เพื่อวัดกระแส
  6. เสียบปลั๊ก เริ่มเดินคอมเพรสเซอร์ เข็มของเกจจะลดลง
  7. ค่อยๆ เปิดวาล์วสีน้ำเงินเพื่อชาร์จน้ำยาเพิ่มเข้าระบบทีจะน้อย ๆ โดยใช้วิธีเปิด - ปิดสลับกัน แล้วอ่านค่าที่เกจ ควรจะอยู่ในช่วง 8 -12 PSI ถ้าต่ำกว่า 8 PSI ให้เปิดวาล์วเติมย้ำยาเข้าอีก จนค่าความดันคงที่ อยู่ประมาณ 10 PSI หยุดเติม ปิดหัวถังและปิดวาล์ว
  8. อ่านค่ากระแสที่คลิปแอมป์ ควรได้ไม่เกินค่ากระแสที่แผ่นป้ายหลังตู้เย็น
  9. ใช้ฟองแชมพูพอกที่รอยต่างๆ ของท่อน้ำยาเพื่อหารอยรั่ว
  10. ยังไม่ต้องถอดสายแมนิโฟลด์เกจออก ให้เดินเครื่องตู้เย็นต่อไปประมาณ 30 นาที ตรวจความดันน้ำยาและค่ากระแสคอมเพรสเซอร์ควรอยู่ในระดับเดิม ใช้มือสัมผัสความร้อนที่แผงคอนเดนเซอร์ สัมผัสความเย็นที่อีแวโพเรเตอร์ และสังเกตน้ำเกาะที่ปลายท่อซักชั่น (คล้ายเหงื่อ)
  11. ถอดปลั๊ก หยุดการทำงานของระบบ
  12. ถอดสายชาร์จน้ำยา แล้วใช้ฝาจุกขันปิดวาล์วชาร์จน้ำยาให้แน่น
    (ดูรูปและรายละเอียดการวัดได้จากเอกสารใบงาน)

คำถามเรื่องการชาร์จน้ำยาเข้าระบบตู้เย็น
  1. การต่อแมนิโฟลด์เกจเพื่อชาร์จน้ำยาต่ออย่างไร
  2. ขณะทำงาน ความดันด้านต่ำของตู้เย็นมีค่าเท่าไร = ____________ PSI
    ถ้าความดันต่ำกว่ามาตรฐาน จะเกิดผลอะไร _______________________________________________ ___________________________________________________________________________________
    ถ้าความดันสูงกว่ามาตรฐานจะเกิดผลอะไร _______________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  3. ทำไมต้องไล่อากาศที่ค้างอยู่ในท่อออก ก่อนชาร์จน้ำยา __________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  4. ถ้าเติมน้ำยาเข้าไปเกินมาตรฐาน จะทำอย่างไร
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  5. ความดันด้านสูงของตู้เย็นมีค่าเท่าไร = ______________ PSI
  6. จะใช้คลิปแอมป์ตรวจว่าระบบมีน้ำยาอยู่หรือไม่จะตรวจอย่างไร
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  7. ทำไม่ใช้เกจวัดความดันด้านสูงขณะการชาร์จน้ำยาเข้าระบบตู้เย็น
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  8. ถ้าไม่มีเกจวัด จะทราบได้อย่างไรว่าในระบบมีน้ำยา
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  9. ทำไมต้องชาร์จน้ำยาสถานะแก๊สเข้าระบบ
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  10. จะทราบได้อย่างไรว่าการชาร์จน้ำยาเข้าระบบพอดีแล้ว
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
  11. การตรวจรอยรั่วหลังการชาร์จน้ำยาทำอย่างไร
    ___________________________________________________________________________________ ___________________________________________________________________________________
[ BACK ]
ที่ทำงาน : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
Office : Faculty of Industrial Technology, Lampang Rajabhat University. 52100
Tel. 054-241079 ext. 1300 Fax. 054-241079