1JZ-GTE EXPERIENCE
JZ
NETISAK
BIG Sponsor
2500 CC.
TWIN TURBO
Homepage of Associate Professor BOONCHAT NETISAK
ADDRESS : 99/60  soi 9   PAHONYOTHIN ROAD AMPHER MUANG, LAMPANG,  THAILAND  52100


Copyright 2007 by  BOONCHAT  NETISAK,
All Rights Reserved.
ซ่อมกล่อง ECU คอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรลเกียร์ ตอนที่ 1
Computer Shift Lock Control Repair

   เครื่อง 1JZ-GTE Auto มันมีกล่องสีดำๆ อยู่ที่ข้างคันเกียร์ มันมีชื่อที่ข้างกล่องว่าคอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรล (Computer Shift Lock Control) ซึ่งก็คือกล่องอีซียูคอมพิวเตอร์ควบคุมการเลื่อนคันเกียร์ ข้างในกล่องมันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวก ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ประกอบอยู่บนแผ่นปริ้นต์ มีสายไฟต่อออกมาเพื่อเสียบปลั๊กไปยังอุปกรณ์ที่มันควบคุม
เกียร์ หนึ่งเจแซด-จีทีอี ออโต
1JZ-GTE Auto Gear
     เกียร์ของ 1JZ-GTE Auto ที่หัวคันเกียร์มีปุ่มกดเพื่อเข้าเกียร์ถอย R และมีปุ่ม O/D โอเวอร์ไดร้ว์  ข้างคันเกียร์ด้านขวามีอักษรบอกตำแหน่งเกียร์ P R N D 2 L และสวิตช์ ECT-S เป็นปุ่มกด PWR, MANU ด้านซ้ายของคันเกียร์ มีปุ่มกดสีแดง ใช้กดเพื่อปลดล็อกคันเกียร์จากตำแหน่ง P

สวิตช์ ECT-S ในการขับขี่
เมื่อกดปุ่ม PWR การตอบสนองการเหยียบดีและมีอัตราเร่งจะรวดเร็วเร้าใจ การเปลี่ยนเกียร์จะลากยาว เหมาะกับทางคับขัน หรือคนขี้รำคาญใช้แซง ซิ่งให้พ้นหนีไปไกล ๆ

เมื่อกดปุ่ม MANU การขับขี่เกียร์จะเปลี่ยนขึ้นลงไม่ลากยาว เข้าเกียร์ 2 L มีแรงช่วยเบรกจากเครื่องยนต์ดีตอนผ่อนคันเร่ง

เมื่อไม่กดปุ่มใดเลยใช้ขับขี่ทั่วไป เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงปกติ


  หน้าที่ของกล่อง Computer Shift Lock Control
กล่องคอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรลมีหน้าที่ 2 อย่าง

  1. ล็อกคันเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง P (จอด) เพื่อความปลอดภัยตรงตำแหน่ง P จะมีการล็อก 2 ระบบ 2 ชั้น
       ระบบแรกล็อกด้วยกลไก กดปุ่มที่หัวเกียร์เลื่อนคันเกียร์ไปตำแหน่ง P แล้วปล่อย กลไกจะล็อกตัวเอง การปลดล็อกตอนที่ดับเครื่องยนต์เราต้องกดปุ่มที่หัวเกียร์ และกดปุ่มสีแดงที่ข้างคันเกียร์พร้อมกัน จึงจะสามารถเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง P ไปยัง R ได้ อันนี้ไม่ค่อยได้ใช้ มีใช้บ้างตอนที่เรารื้อวิทยุแล้วคันเกียร์มันเกะกะ หรือใช้ตอนที่ระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์มันเสีย
       ระบบที่สองล็อกด้วยไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การปลดล็อกขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน จะเข้าเกียร์ให้รถวิ่งโดยเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่ง P ไปยัง R ต้องทำ 2 อย่างคือ เหยียบเบรกและกดปุ่มที่หัวเกียร์จึงจะเข้าเกียร์ R ได้ นั่นก็คือระบบจะให้ความปลอดภัยไม่ให้เข้าเกียร์ได้โดยไร้สติ อันนี้ใช้ประจำทุกครั้งหลังการจอดรถโดยเกียร์ P

   2. ล็อกลูกกุญแจที่ใช้สตาร์ทรถ ไม่ให้ดึงลูกกุญแจออก ไม่ให้บิดลูกกุญแจมาล็อกพวงมาลัย จนกว่าจะเลื่อนคันเกียร์ไว้ที่ P ให้เรียบร้อย หน้าที่อันนี้เราไม่ได้ใช้กัน เพราะรถของเราไม่มีตัวโซลีนอยด์ล็อกลูกกุญแจ

ลองเอาไฟ 12 V ป้อนดู โซลีนอยด์มันทำงานหรือไม่ ถ้ามันดึงแกนเข้าออกได้ ไม่เสีย
สวิตช์อันนี้แอบอยู่กับโซลีนอยด์ เห็นมันสกปรกก็เอาโซแนกซ์ล้าง มันมีสายออก 3 เส้น มันจะต่อวงจรตามตำแหน่งเกียร์ ตัวที่อยู่ตรงกลางมันจะวิ่งขึ้นลงได้เมื่อเราเลื่อนคันเกียร์


2. ถ้างั้นโซลีนอยด์ขาดหรือไม่ ต้องรื้อแถวๆ คันเกียร์ เพื่อจะดูว่าเจ้าโซลีนอยด์มันเสียหรือเปล่า อยู่ที่ใต้ปุ่มกดสีแดงที่มีตัวหนังสือยุ่นปี่ (อ่านไม่ออก)
กล่อง ECU
Computer Shift Lock Control
ส่วนประกอบภายในกล่อง ECU Computer Shift Lock Control

ดูที่แกนโซลีนอยด์ พาสติกมันแตกหัก หรือไม่
3. ต่อไปให้ดูกล่องสีดำๆ ด้านหน้าคันเกียร์ นี่แหละกล่องควบคุมการเลื่อนคันเกียร์ แกะออกมาดูอุปกรณ์ข้างใน ตรวจดูตัวอุปกรณ์  หาตัวที่ชำรุด ตรวจดูลายปริ้นต์ มีตรงไหนขาดไหม



ปุ่มโอเวอร์ไดร้ว์
OVER DRIVE ที่หัวเ้กียร์
กดเข้าเป็น O/D ON (ไฟ O/D ดับ) เกียร์จะเปลี่ยนขึ้นลง 1-2-3-4
กดออกเป็น O/D OFF (ไฟ O/D OFF ติดสว่าง) เกียร์จะเปลี่ยนขึ้นลง 1-2-3

ขณะวิ่งเกียร์ 4 ถ้ากด O/D OFF เกียร์จะเปลี่ยนลงเป็น 3 ทันที ใช้เร่งแซงได้ เหมาะสำหรับคนที่คิกดาวน์แล้วตกใจ

ขณะวิ่งเกียร์ 4 การกด O/D OFF แล้วผ่อนคันเร่งจะเป็นเอนจินเบรกในเกียร์ 3

1. อันดับแรกเลยที่ผมซ่อม คิดว่าสวิตช์ไฟเบรกไม่ดี ก็ไล่สายไฟที่ไปยังสวิตช์เหยียบเบรก มันปกติดีไม่ขาด ไฟเบรกติด และมีไฟมาที่กล่องด้วย แบบนี้ก็ไม่เสีย ต้องดูที่อื่นต่อไป


4. ใช้หัวแร้งบัดกรีลายปริ้นต์ ตรงที่ขาด หรือใช้สายไฟเส้นเล็กต่อแทนลายทองแดง เอาไขควงขูดให้สะอาดก่อนต่อ



ต่อไปให้ตรวจดูลายปริ้นต์ที่อื่น มีตรงไหนขาดอีกไหม หรือใกล้ขาด บัดกรีเพิ่มเท่าที่จำเป็น

ถ้ามีมิเตอร์ก็วัดโอมห์ดูว่าลายทองแดงที่ต่อมันถึงกันหรือยัง ถ้าไม่มีมิเตอร์ก็ใช้ตา eyes ของเรานี่แหละตรวจ



กล่องดำนี้คือ กล่องควบคุมเกียร์
โซลีนอยด์
โซลีนอยด์
เปิดฝาครอบออก
ตรวจอุปกรณ์บนแผ่นปริ้นต์
ตรวจลายทองแดงด้านล่างแผ่นปริ้นต์ ดูให้ละเอียด ใช้แว่นขยายหรือกล้องส่อง

ตัวอย่างนี้พบลายเส้นทองแดงขาด เป็นสาเหตุให้โซลีนอยด์ไม่ทำงาน


สงสัยว่าลายทองแดงมันขาดได้อย่างไร
มันอยู่ในกล่องตลอดเวลา
แต่มันก็ขาดแล้วจริงๆ ตามที่เห็น

เตรียมเครื่องมือ
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หัวแร้งตัวเล็กๆ (หัวแร้งไฟฟ้านะครับ แบบเผาในเตาถ่านใช้ไม่ได้) ตะกั่วบัดกรี คีมตัด (ใช้กรรไกรตัดเล็บแทนคีมตัดก็ได้) แว่นขยาย ไขควง (มิเตอร์ไม่มีก็ไม่เป็นไร จำเป็นน้อย)

5. เสียบขั้วเสียบให้ครบ เพื่อทดลองการทำงาน ติดเครื่องยนต์ เหยียบเบรก เลื่อนคันเกียร์จาก P ไป R ควรจะเข้าได้ โซลีนอยด์ปลดล็อกได้เป็นปกติ


ไหนๆ ก็ถอดแล้ว แป้นฐานคันเกียร์มันเป็นสนิม ถอดออกมาขัดด้วยกระดาษทราย เอาสีสเปร์พ่นให้มันสวยงามขึ้นอีกนิด
แล้วใส่กลับเข้าที่เดิม



6. ตรวจความเรียบร้อยของสายไฟ ประกอบทุกอย่างกลับตามที่เดิมของมัน


เสร็จแล้วครับ
การซ่อมที่เป็นประสบการณ์ของผม
 
ไฟที่หน้าปัดจะโชว์บอกสถานะการทำงาน ECT-S MANU หรือ ECT-S PWR
เมื่อกดปุ่มโอเวอร์ไดร้ว์ OFF
ไฟ O/D OFF ติดสว่าง

(ไฟนี้ใช้เช็คโค้ดได้ด้วย)

   อาการก่อนซ่อม ตอนที่ 1
       โดยปกติเวลาเราเข้าเกียร์ P จอดไว้ ตอนจะออกจาก P เราเหยียบเบรกและกดปุ่มที่หัวเกียร์เราก็จะเข้าเกียร์ ถอย R ได้ อยู่มาวันหนึ่งเราเหยียบเบรกแล้วมันออกจาก P ไม่ได้ ต้องกดปุ่มแดงช่วยมันจึงจะออกมาได้ ยุ่งทุกครั้งก่อนออกรถ นี่แหละคือมันผิดปกติ
 
กลไกการล็อกคันเกียร์
ขั้นตอนการซ่อม
ถอดปลั๊ก เอากล่องออกมา