1JZ-GTE EXPERIENCE
JZ
NETISAK
BIG Sponsor
2500 CC.
TWIN TURBO
Homepage of Associate Professor BOONCHAT NETISAK
ADDRESS : 99/60  soi 9   PAHONYOTHIN ROAD AMPHER MUANG, LAMPANG,  THAILAND  52100


Copyright 2007 by  BOONCHAT  NETISAK,
All Rights Reserved.
ซ่อมกล่อง ECU คอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรลเกียร์ ตอนที่ 2
Computer Shift Lock Control Repair

   เครื่อง 1JZ-GTE Auto มันมีกล่องสีดำๆ อยู่ที่ข้างคันเกียร์ มันมีชื่อที่ข้างกล่องว่าคอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรล (Computer Shift Lock Control) ซึ่งก็คือกล่องอีซียูคอมพิวเตอร์ควบคุมการเลื่อนคันเกียร์ ข้างในกล่องมันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวก ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ประกอบอยู่บนแผ่นปริ้นต์ มีสายไฟต่อออกมาเพื่อเสียบปลั๊กไปยังอุปกรณ์ที่มันควบคุม
กล่อง ECU คอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรลเกียร์
   ไอ้กล่องดำๆ อยู่ข้างคันเกียร์ออโตของ 1JZ-GTE ผมเคยซ่อมมาแล้วหนหนึ่ง ปริ้นต์ลายทองแดงมันขาด 2 จุด ใช้สายไฟบัดกรีไว้ ผลใช้ได้ดี อาการตอนนั้นมันไม่ทำงาน เหยียบเบรกแล้วปลดคันเกียร์ออกจาก P ไม่ได้ ต้องปลดทางเมคานิคโดยกดปุ่มแดงช่วย เพราะเจ้าโซลีนอยด์ไม่ยอมขยับตัว

4. อ่านที่ตัวมันเป็นทรานซิสเตอร์ เบอร์ 2SC2003 มี 3 ขา (เขียนย่อ C2003)
ใช้หัวแร้งจี้ถอดออกมา ขาหลุดไป 1 ขา ดูชัดๆ สมแล้วที่มันเกเร

กล่อง ECU
Computer Shift Lock Control
ส่วนประกอบภายในกล่อง ECU Computer Shift Lock Control

1. อันดับแรกลองเหยียบเบรก ตรวจไฟมา ไฟเบรกติด ไล่สายไฟ จากสวิตช์เท้าที่แป้นเหยียบเบรกไปยังกล่องคอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรล วัดไฟดู ใช้หลอดไฟ 12 โวลต์ตรวจก็ได้
5. เตรียมไปซื้ออะไหล่ เปิด net หาเบอร์แทนสำรองไว้ได้มาเพียบ พิมพ์ไว้เลย ไปที่ร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ ย้ำนะครับ ร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์ อย่าไปร้านอะไหล่รถยนต์ ยื่นใบที่พิมพ์ไว้ให้คนขาย บอกเขาว่า อยากได้ทรานซิสเตอร์ เบอร์ 2SC2003 แต่ถ้าไม่มีช่วยจัดเบอร์แทนตามรายการ ตัวไหนก็ได้ เอามา 1 ตัว

ผมได้มาเป็น เบอร์ 2SC2002 ตัวละ 2 บาท ก็เลยเอามา 2 ตัว พวกทรานซิสเตอร์เขาจะเขียนเบอร์ที่ตัวมันแบบย่อ คือ C2002 ตัวดำ 3 ขา (อย่าเข้าใจผิดว่ามันเป็น C) ไปตั้งนาน ร้านก็ใหญ่ คนขายก็สวย แต่คุณลุงซื้อ 2 บาท ได้ไง .. เอามาเลย 2 ตัว จ่ายไปตั้ง 4 บาท ซื้อมางั้นๆ แหละ เผื่อทำขาหัก





8. บัดกรี ตัดขา เอาแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดตรงที่บัดกรี กันติดเชื้อแบบหมอเลยละ เช็ดทั้งข้างบน ข้างล่าง



ตรวจอุปกรณ์บนแผ่นปริ้นต์
ถอดออกมา ขาหลุดไป 1 ขา ดูชัดๆ สมแล้วที่มันเกเร

6. เมื่อมีอะไหล่พร้อม ต้องเตรียมรูที่จะเสียบขาให้พร้อม บัดกรีขยายรู เอาไม้จิ้มฟันแยงให้ทะลุ แต่งรูให้สวย



9. ดูวิชาการหน่อย เดี๋ยวจะว่าเราเป็นช่างไร้การศึกษา
สเก็ตวงจรคร่าวๆ Tr1 รับไฟจากการเหยียบเบรกผ่าน D1 ผ่าน R เข้าขา B ทำให้ไฟจาก D2 ไหลลงกราวด์ Tr4 จึงสวิตช์ ON มีกระแสไฟจาก IG1 ไหลผ่านขา EC ผ่าน R D ไปเข้าโซลีนอยด์ สายไฟที่จำเป็นให้ดูได้ที่ปลั๊กเสียบ

วงจรจริงจะมีส่วนประกอบมากกว่านี้ อันนี้เอาพอไล่วงจรเพื่อการซ่อม
มากไป.. เดี๋ยวจะปวดสมอง

เสร็จแล้วครับ
การซ่อมที่เป็นประสบการณ์ของผม
 
   อาการก่อนซ่อม ตอนที่ 2
       โดยปกติเวลาเราเข้าเกียร์ P จอดไว้ ตอนจะออกจาก P เราเหยียบเบรกและกดปุ่มที่หัวเกียร์เราก็จะเข้าเกียร์ ถอย R ได้
คราวนี้มันมีอาการอย่างใหม่ การปลดล็อกจาก P ไป R ง่ายมาก ไม่ต้องเหยียบเบรกเพียงแต่กดปุ่มที่หัวเกียร์ก็เลื่อนคันเกียร์ได้เลย ไม่มีปัญหาในการเข้าเกียร์ วิ่งได้ ถ้าไม่คิดอะไรมาก แต่อย่างนี้ก็จะไม่ปลอดภัย หากบางทีเราเผลอไป รถคงจะถอยพรวด …. ตูม … เละ… ไม่อยากคิดเลย
 
ขั้นตอนการซ่อม
โซลีนอยด์
2. เปิดคอนโซลออกมา ลองเหยียบเบรกดูการทำงานของโซลีนอยด์ พบว่าไม่ต้องเหยียบเบรกเพียงแต่เปิดสวิช์กุญแจมันก็ทำงานแล้ว ขยับยึกยักเรียบร้อย เรียกว่ามันทำงานตลอดเวลาว่างั้นเถอะ อาการอย่างนี้ต้องมีการลัดวงจรให้ไฟไหลเข้าโซลีนอยด์ตลอด
3. เริ่มหาตัวการที่เป็นต้นเหตุ เปิดกล่องดำ ดูลายปริ้นต์ ดูตัวอุปกรณ์ มีอะไรคาอยู่ระหว่างขาของตัวอุปกรณ์หรือลายปริ้นต์หรือไม่  มันก็ดีทุกตัว บริสุทธิ์ ขาขาวๆ ทั้งนั้น
ตรวจลายทองแดงใต้แผ่นปริ้นต์
นี่ไง พบแล้ว Tr1 ตัวดำๆ แต่ขาลาย… เห็นผู้มากประสบการณ์เขาว่าดำๆ นี่มีทีเด็ดนัก เอากล้องส่องพระมาดู ขามันผุไม่สวยเลย เห็นขาแบบนี้หมดอารมณ์ ไฟไม่เดินแน่นอน
ขยายดูชัดๆ C2003
ขาเขาสุดยอดแล้ว
ตำแหน่งขาที่จะจี้หัวแร้งใต้แผ่นปริ้นต์
ตำแหน่ง Tr1 ที่ถอดออกแล้ว

E    C    B
7. ดัดขาทรานซิสเตอร์ แล้วเสียบขา E B C ลงไปในรูให้ตรงตามตำแหน่ง  กดขาลงให้ขาทะลุออกเกินครึ่ง


E      C       B
ขยายดูชัดๆ อีกรูป
ขาของจริงนะครับ


2SC2003 ต้องการตัวนี้ เบอร์ตรงของเดิม
เบอร์แทนที่ใช้ได้ดังนี้
2SC2002, 2SC1214, 2SC1509, 2SC1627, 2SC2274A, 2SC3939, 2SC4414, 2SD1226, 2SD667, 2N4137, BC639, KT3117A
ทรานซิสเตอร์มีขา 3 ขา
ขา B = Base
ขา C = Collector
ขา E = Emitter
การทำงานของทรานซิสเตอร์ในกรณีนี้คือให้มันเป็นสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์
ขาคอนแทกซ์ต่อให้กระแสไฟไหลคือ ขา C-E
ขา B เป็นขาควบคุมให้ ปิดหรือเปิด (ป้อนไฟเข้าควบคุม)

เบอร์ที่เป็น C (2SC...) ควบคุมขา B ด้วยไฟบวก
เบอร์ที่เป็น A (2SA...) ควบคุมขา B ด้วยกราวด์(ไฟลบ)

 
 
 
10. ดูการต่อปลั๊ก ของกล่อง ECU คอมพิวเตอร์ชิฟต์ล็อกคอนโทรล มันมีปลั๊กอยู่ 3 ตัว
เสริมความรู้ ยามคับขันจะได้งัดออกมาสู้ศึกได้



ปลั๊ก 2 สาย ต่อเข้าโซลีนอยด์






ปลั๊ก 3 สาย ต่อเข้าสวิตช์บอกตำแหน่งคันเกียร์ข้างโซลีนอยด์



2 สาย บน ปกติเราไม่ใช้
แดงขาว = ไฟบวก ACC
น้ำเงินขาว = โซลีนอยด์กุญแจพวงมาลัย



ปลั๊ก 3 สาย



ปลั๊ก 2 สาย

ปลั๊ก 5 สาย


3 สาย ล่าง ต้องต่อใช้งาน

แดง = ไฟบวก IG1 (หลังกุญแจ มีไฟตอนติดเครื่องยนต์)
เหลือง = สวิตช์ไฟเบรก ,  ดำ = กราวด์


แอลกอฮอล์สำหรับเช็ด

ตอนเสร็จแล้ว มีขาใหม่ขาวสวย