| ถอดฝาครอบใต้พวงมาลัยออก
เมื่อถอดฝาครอบใต้พวงมาลัยออก จะมองเห็นขั้วสายไฟของสวิตช์กุญแจ (ตัวสีน้ำตาล)
มีสายไฟเส้นใหญ่ สีแดง สีเขียว สีดำ-เหลือง และสีม่วง
|
|
โปรดสังเกต สายไฟเส้นใหญ่ สีเขียว และ สีดำ-เหลือง เราจะใช้ 2 เส้นนี้
|
| วงจรการต่อสายไฟเพื่อทำปุ่มกดสตาร์ตเครื่องยนต์
ใช้รีเลย์ และปุ่มกด ช่วยสตาร์ต
โปรดสังเกตวงจร มีสายเส้นใหญ่กับเส้นเล็ก
สายเส้นใหญ่ เวลาต่อจริงก็ต้องใช้สายไฟเส้นใหญ่ตามวงจร เพราะต้องรองรับกระแสสตาร์ตจำนวนหลายแอมป์
สายเส้นเล็ก เป็นสายคอยล์ และสวิตช์กด กระแสผ่านไม่มากใช้สายเส้นเล็กก็ได้
|
| ทำความรู้จักกับรีเลย์ .... ที่ใช้
รีเลย์ที่นำมาใช้ หาซื้อได้ทั่วไป (หน้าสัมผัสแบบปกติเปิด - Normal Open : NO)
หน้าคอนแทกต์รับกระแสได้ 30 A คอยล์ 12 V
|
|
ขาของรีเลย์ ที่ใช้งาน 4 ขา
ขา 85 - 86 เป็น คอยล์ (ขดลวด)
ขา 30 - 87 เป็น คอนแทกต์ (หน้าสัมผัส สวิตช์)
ตามรูปตัวอย่างมี 5 ขา ขา 87 มี 2 ขา ใช้เพียงขาเดียว อีกขาหนึ่งปล่อยไว้เฉยๆ
|
|
แงะฝาครอบรีเลย์ออกเพื่อดูภายใน ประกอบด้วยคอยล์หรือขดลวด และหน้าคอนแทกต์
|
|
วงจรของรีเลย์
ขา 85 86 เป็นขาของคอยล์
ขา 30 87 เป็นขาคอนแทกต์
|
|
ขยายภาพ ดูหน้าคอนแทกต์
คอนแทกต์ คือหน้าสัมผัสของสวิตช์ที่ให้กระแสไฟผ่าน ต้องสะอาด และเรียบ
|
| การต่อสายไฟ
จากวงจรข้างต้น ทำการต่อสายไฟจากรีเลย์เข้ากับสวิตช์กุญแจ เพื่อทำปุ่มกดสตาร์ต
|
|
การต่อสายไฟเข้ากับขาของรีเลย์
|
|
การบัดกรีต่อสายไฟเข้ากับขั้วสวิตช์กุญแจ
|
|
ตำแหน่งติดตั้งปุ่มกดสตาร์ต
|
|
ภาพหลังการติดตั้งปุ่มกดสตาร์ตเสร็จแล้ว
การใช้งาน บิดสวิตช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง 2 (ON หรือ RUN) แล้วจึงกดปุ่มสตาร์ต แทนการบิดสวิตช์สตาร์ต
การดับเครื่องยนต์ บิดกุญแจกลับมาที่ตำแหน่ง 1 หรือ 0 (ACC หรือ OFF)
|