 |
การแยกชิ้นส่วนเอาปีกนกออก ผมใช้ค้อนตัวใหญ่ทุบ 2-3 ที ตรงลูกศรชี้
การทุบ คือการใช้หัวค้อนเคาะลงไปแรง ๆ พร้อมภาวนาในใจว่า ออก ... นะ ออก ... นะ เพี๊ยง
|
 |
ปีกนกที่ถอดออกมาแล้ว ทั้งหมด 4 ตัว
รถ E34 มีปีกนกอยู่เท่านี้ มีลูกหมากปีกนก 4 ตัว และมีบูชยางปีกนก 4 ตัว
ทางที่สะดวกสบาย ก็คือซื้ออะไหล่ปีกนกใหม่มาเปลี่ยน
(ของเทียบประมาณหนึ่งหมื่นบาทเศษ ของแท้ประมาณสี่หมื่นต้น ๆ เป็นราคาที่ดีลเลอร์ผู้จำหน่าย E34 ประเมินซ่อม ณ เดือน ธ.ค.2547)
|
 |
ตรวจดูการหลวม การคลอน ของลูกหมาก ใช้มือโยกดู
ยางกันฝุ่นที่ปิดลูกหมาก อันที่เห็นนี้เป็นของดั้งเดิมที่หมดสภาพ
ลูกหมากนี้สามารถซ่อมได้ คนไทยทำเอง ราคาไม่แพงเป็นทางเลือกที่ประหยัดและใช้งานได้ดี
ผมลองให้ช่างเขาซ่อมลูกหมากแล้ว จะนำขั้นตอนการซ่อมลูกหมากแบบย่อ ๆ ให้ท่านผู้อ่านพอเข้าใจ จะได้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ว่าควรจะซ่อมรถของท่านด้วยวิธีไหน
|
 | ขั้นตอนการซ่อมลูกหมาก
นำปีกนกของเราไปที่โรงกลึง ที่เราสืบมาแล้วว่าเชี่ยวชาญการทำลูกหมาก
ถามเขาก่อนว่าทำได้ไหม ปีกนกตัวอะลูมิเนียมทำได้ไหม
ปีกนกตัวเหล็กทำได้ไหม ปีกนกตัวบนของ E34 นี้ยาวกว่ารถอื่น ๆ ต้องใช้เครื่องกลึงที่คอกว้างมากจึงจะหมุนได้ หรือถ้าเป็นเครื่องกลึงธรรมดาก็ต้องทำแบบเทคนิคพิเศษหน่อย บางร้านอาจทำไม่ได้
ถามราคา และเวลาเสร็จงาน ถ้าพอใจก็ให้เขาทำ
|
 |
เขาจะทำตัวสั้นที่เป็นอะลูมิเนียมก่อน เพราะทำง่าย เครื่องกลึงทั่วไปทำได้
จับลูกหมากเข้ากับหัวจับของเครื่องกลึง มีดกลึงปาดฝาปิดด้านหลังลูกหมากออกบาง ๆ
|
 |
ใช้ตัวอัดกดทางด้านเกลียวของลูกหมากให้ฝาปิดหลังหลุดทะลุออกมา จะเห็นจาระบีข้น ๆ เต็มอยู่ข้างใน
|
 |
ดันตัวลูกหมากให้หลุดออกจากเบ้า จะมีเสื้อพลาสติกสังเคราะห์ที่หุ้มลูกหมากอยู่หลุดออกมาด้วย
คำว่า เสื้อ ที่หุ้มลูกหมากนี้ ผมตั้งชื่อเอาเองนะครับ ไม่ทราบว่าช่างคนอื่นเขาเรียกว่าอะไร อาจเรียกว่าอันเดอร์แวร์ (Underwear) ก็ได้
|
 |
ลูกหมาก พร้อมเสื้อพลาสติกสังเคราะห์ ที่ออกมาจากเบ้าแล้ว
|
 |
ตรวจดูเบ้าลูกหมาก ด้านในสภาพดีไม่มีอะไรเสียหาย
ปกติลูกหมากจะไม่สัมผัสเบ้าที่ปีกนกเลย เพราะมีเสื้อพลาสติกสังเคราะห์ หุ้มป้องกันตัวลูกหมากไว้แน่น
|
 |
ถอดเสื้อพลาสติกสังเคราะห์ ออกจากตัวลูกหมาก จะเห็นตัวลูกหมากกลม ใส
เช็ดจาระบีออกจากลูกหมาก ตรวจสภาพการกลม การสึกหรอของผิว
|
 |
เสื้อพลาสติกสังเคราะห์ หุ้มลูกหมาก ตรวจแล้วเห็นว่าสภาพยังดีอยู่มาก ผมบอกใช้ตัวเดิม โดยเซาะร่องหน่อยเวลาอัดเข้าที่ปลายมันจะบีบลูกหมากได้แน่นขึ้น
|
 |
กรณีที่เสื้อหุ้มลูกหมากเสียมาก หรือสึกมาก สามารถกลึงพลาสติกสังเคราะห์ ใหม่ใส่เข้าไปแทนก็ได้ แต่เวลาในการทำก็จะเพิ่มขึ้น
ดังนั้นถ้าจะไม่ใช้เสื้อตัวเก่า เราก็บอกให้ช่างกลึงเสื้อพลาสติกสังเคราะห์ ตัวใหม่ได้เลย เขาทำได้
|
 |
ทำความสะอาดทั้งเสื้อ และลูกหมาก
ใส่จาระบีหล่อลื่น แล้วใส่เสื้อเข้ากับลูกหมาก
|
 |
ดันชุดของลูกหมากพร้อมเสื้อเข้าไปในเบ้าที่ปีกนก
|
 |
ลูกหมากเข้าไปแล้ว แต่ยังเข้าไม่สุด
|
 |
ดูด้านใช้งานของลูกหมาก ดูแนวการโยก จะเห็นว่าลูกหมากจะไม่หลุดออกมา เพราะหัวลูกหมากโตเกินกว่าที่จะหลุดได้
ผมเห็น จั๊งซี่ .. เด้ ... จึงมั่นใจว่า ลูกหมากนี้ ซ่อมได้ และให้ความปลอดภัยเหมือนเดิม
|
 |
ปิดแผ่นปิดหลังลูกหมาก นำไปขึ้นแท่นอัด ใช้แท่งเหล็กดันแผ่นปิดลงไปให้แน่น แล้วใช้เหล็กอีกอันหนึ่งตอกย้ำเนื้ออะลูมิเนียมตรงขอบไปปิดแผ่นด้านหลังลูกหมาก ตอกย้ำจนรอบ
การอัดนี้ถ้าใช้แรงอัดที่มาตรฐานก็จะทำให้คุณภาพของลูกหมากที่ซ่อมนี้ได้มาตรฐานเท่าเทียมกันทุกลูก
(ผมเข้าใจว่าร้านที่มีเครื่องมือทันสมัยน่าจะอัดด้วยแรงมาตรฐาน แต่เมื่อคุยกับช่างเขาบอกว่าตอกด้วยมือดีกว่า อาศัยความชำนาญ ลูกหมากแต่ละขนาดตอกแรงไม่เท่ากัน )
|
 |
ช่างซ่อมลูกหมากที่ผมไปให้เขาทำนี้ เป็นแบบภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมแท้ ๆ
เห็นเครื่องมืออย่าตกใจนะครับ แบบแบกะดิน
ทำด้วยมือคนล้วน เอาความชำนาญที่เคยทำ ใช้เกลียวหมุนอัดด้วยมือ
หมายเหตุ
ที่เอาภาพลงไว้ให้ดูนี้ ด้วยความชื่นชมนะครับ เพื่อให้เห็นว่าช่างคนไทยก็มีฝีมือ แม้ไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยก็สามารถดัดแปลงและซ่อมงานลูกหมากได้ มีผลงานที่เสร็จออกมา เรียบร้อย
|
 |
อัดเกลียวแน่นค้างไว้ แล้วใช้มือคนจับค้อนตอก รอบ ๆ ขอบฝาปิดด้านหลังลูกหมาก
ตอกแบบ วิศวะ ..กะ .. กะ .. เอาครับ
|
 |
ตอกย้ำรอบขอบฝาแผ่นปิดด้านหลังลูกหมากแล้ว เป็นสภาพนี้
เช็ดคราบจาระบีและสิ่งสกปรกออกให้หมด
|
 |
หลังจากอัด และย้ำขอบฝาปิดด้านหลังแล้ว เข้าเครื่องกลึงอีกครั้ง ปาดแต่งหลังให้สวยงาม
|
 |
กลึงเสร็จ เช็ดคราบจาระบีออก ด้านหลังแผ่นปิดลูกหมากก็เรียบร้อย
|
 |
ใส่ยางกันฝุ่นอันใหม่ เสร็จแล้วการซ่อมลูกหมากปีกนกล่างแบบอะลูมิเนียม
จับโยกไม่เคลื่อนที่เลยนะครับ แน่นมาก
ผมดูช่างเขาทำลูกหมาก 2 อันนี้ ง่ายมาก ใช้เวลาแป๊บเดียว เสร็จแล้ว
|
 |
ต่อจากนี้ มาดูการอัดลูกหมากปีกนกตัวบน ที่ว่าทำยาก เนื่องจากมีความยาวมาก เข้าเครื่องกลึงแล้วหมุนไม่ได้ ว่าทำอย่างไร
เขาแก้ปัญหาด้วยการทำใบมีดกลึงพิเศษให้มีดหมุน และให้ชิ้นงานคือลูกหมากนิ่งอยู่กับที่ ช่างเขาดัดแปลงของเขาเอง ใช้งานกับลูกหมากอะไรก็ได้ที่ยาว ๆ ทำได้ทั้งหมด
เรื่องดัดแปลงและการแก้ปัญหานี้ ผมชื่นชมเขามากครับ ..... เก่งมาก
|
 |
ปีกนกตัวบนของ E34 ขณะจับอยู่บนแท่นกลึง จะเห็นว่ายาวมากเกินกว่าที่จะหมุนบนเครื่องกลึงได้ อันนี้จับไว้นิ่งแล้วเลื่อนเข้าหามีดกลึงที่หมุน ก็ทำให้กลึงได้ แต่เป็นวิธีตรงข้ามกับปกติ
|
 |
งานกลึงก็สามารถทำได้ดีเหมือวิธีปกติ แต่ต้องใช้ฝีมือ และความปราณีต เพิ่มขึ้น งานเร่งมากไม่ได้
|
 |
การซ่อมลูกหมากในขั้นตอนอื่นๆ เหมือนกับที่ได้อธิบายแล้ว เพียงแต่ต้องใช้แรงตอกมากขึ้นเนื่องจากเป็นเหล็ก แข็งกว่าอะลูมิเนียม
|
 |
เมื่อตอกขอบปิดแผ่นเหล็กด้านหลังแน่นแล้ว กลึงแต่งขอบ และตะไบ รอบขอบให้เนียน สวย เรียบ
|
 |
ตรวจยางกันฝุ่น ถ้าสภาพดีก็ใช้ของเดิมได้ ถ้าสภาพไม่น่าไว้ใจก็เปลี่ยนใหม่ เทียบดูให้เท่าของเดิม
|
 |
ใส่ยางกันฝุ่นให้เรียบร้อย ตัวอย่างนี้ใช้ของเดิม เพราะสภาพยังโอเค
|
 |
เช็ด ทำความสะอาด น้ำมันและจาระบีที่ติดด้านหลังลูกหมากออกให้หมด ซึ่งจะเห็นว่าเรียบร้อยสวยงาม
|
  |
พ่นสีดำทับรอยกลึงเพื่อป้องกันสนิม
งานซ่อมลูกหมากปีกนกก็เสร็จพร้อมนำไปใส่คืนในรถ E34 แล้ว
|