1JZ-GTE EXPERIENCE
ประสบการณ์ติดมิเตอร์วัดแรงดันบูสต์เทอร์โบในเครื่อง 1JZ-GTE
..............................................................................................................
       
มิเตอร์วัดแรงดันบูสต์เทอร์โบ มีหน้าตาดังรูปข้างซ้าย บางคนเรียกว่าเกจ (Guage) วัดบูสต์

ประโยชน์ของมัน 2 อย่าง คือ 1) แสดงค่าสุญญากาศที่เครื่องยนต์ดูด มีค่า 0-30 นิ้ว-ปรอท (in-Hg) หรือบางตัวอาจเป็น 0-760 มิลลิเมตร-ปรอท
และ 2) แสดงค่าแรงดันอากาศที่อัดมาจากเทอร์โบเข้าท่อไอดี แรงดันเป็นปอนด์-ตารางนิ้ว (PSI) หรือบางตัวอาจเป็นบาร์ (Bar)


JZ
NETISAK
BIG Sponsor
2500 CC.
TWIN TURBO
Homepage of Associate Professor BOONCHAT NETISAK
ADDRESS : 99/60  soi 9   PAHONYOTHIN ROAD AMPHER MUANG, LAMPANG,  THAILAND  52100


Copyright 2007 by  BOONCHAT  NETISAK,
All Rights Reserved.
   ประสบการณ์เกี่ยวกับ JZ-gte
 
แถมอีกนิด ติดตั้งมิเตอร์วัดโวลต์ ไว้คู่กับวัดบูสต์
..............................................................................................................
       
ผมเลือกหน้าตามิเตอร์วัดโวลต์แบบเดียวกับวัดบูสต์ วัตถุประสงค์ก็อยากให้สวยงาม และอ่านค่าแรงดันแบตเตอรี อ่านค่าแรงดันไฟขณะวิ่งรถได้ เราจะเห็นว่าไฟตกหรือไม่ตก เห็นแล้วอุ่นใจครับ บางทีก็ตกใจได้เหมือนกัน

วงจรการต่อมิเตอร์วัดบูสต์
..............................................................................................................
       
ผมเขียนคร่าวๆ ดังรูปขวา ปกติวงจรการต่อเขาจะใส่ไว้ในกล่องตอนซื้อมา เรามีหน้าที่ต่อสายไฟตามวงจร พันเทปตรงรอยต่อให้ดี ต่อท่อยางไปยังท่อไอดีของเครื่องยนต์

ติดตั้งตัวมิเตอร์ไว้ในตำแหน่งที่มองเห็นง่าย
..............................................................................................................
       
การติดตั้งมิเตอร์ อาจฝังไว้ที่หน้าคอนโซล หรือติดขาวางไว้ด้านบน ด้านข้างเสาหน้าที่มอเห็นง่าย ซึ่งตอนซื้อมิเตอร์เขาจะมีอุปกรณ์ติดตั้งมาให้พร้อม รวามทั้งที่บังแสงแบบหมวกก็มีให้ เราเลือกใช้ตามความจำเป็น
แสดงด้านหลังของมิเตอร์วัดบูสต์เทอร์โบ
..............................................................................................................
       
มีน๊อตสำหรับยึดติดขาตั้ง ซึ่งอาจะใช้ขาตั้งหรือไม่ใช้ก็ได้
และมีขั้วเสียบสายไฟ มีสายไฟต่อไว้ 4 เส้น ขาว ม่วง ดำ แดง (เฉพาะตัวอย่างนี้)

สายสีขาว ต่อรับสัญญาณบูสต์จากเซ็นเซอร์        
สายสีม่วง ต่อกับไฟหรี่ ไฟหน้าปัด
สายสีดำ ต่อลงกราวด์ตัวถัง
สายสีแดง ต่อไฟบวก 12 โวลต์เข้า
ตัวเซ็นเซอร์วัดบูสต์
..............................................................................................................
       
รูปร่างเหมือนจานบินสีดำนี้คือเซ็นเซอร์วัดบูสต์ ด้านล่างมีที่ต่อท่อสายยางเพื่อไปต่อกับท่อไอดี
สภาพแรงดันหรือแรงดูดสุญญากาศในท่อไอดีของเครื่องยนต์จะถูกเซ็นเซอร์รับรู้ผ่านท่อนี้ แล้วส่งสัญญาณออกไปเข้ามิเตอร์ที่สายไฟสีขาว
สายไฟสีแดงต่อไฟบวก 12 โวลต์เข้า
สายไฟสีดำต่อลงกราวด์
หาที่ต่อท่อเซ็นเซอร์วัดแรงดันเทอร์โบบูสต์ 1JZ-GTE
..............................................................................................................
       
เครื่องยนต์ 1JZ-GTE ดูจุดต่อท่อที่ท่อร่วมไอดี แถวๆ สูบที่ 5 เลยก้านวัดน้ำมันเกียร์เข้าไป เขามีท่อสำรองเตรียมไว้พร้อมใช้งาน มีจุกยางปิดไว้ (ดูในวงสีเหลือง)


ดึงจุกยางออก        


ต่อท่อยาง
..............................................................................................................
       
ถ้ามีมิเตอร์ใช้งานอันเดียวก็ต่อท่อยางไปใช้ได้เลย
ถ้ามีอุปกรณ์อื่นพ่วง ก็ใช้ 3 ทางช่วย
ตามรูปของผม ใช้ท่อใสต่อเข้าเซ็นเซอร์เทอร์โบ
ข้างในรูที่ต่อเข้าเซ็นเซอร์มีทองเหลืองอุดไว้ แล้วเจาะรูเล็กมากๆ ไว้ด้วย
เสียบท่อยางเข้าจุดต่อท่อร่วมไอดี
..............................................................................................................
       


       
ตัวเซ็นเซอร์แรงดันเทอร์โบนี้ เมื่อต่อสายไฟและท่อยางแล้ว การใช้งานจะวางซ่อนไว้ตรงไหนก็ได้ ท่านอน ท่าตั้ง ตะแคง คว่ำหงายก็ได้ทั้งนั้น ทำงานเหมือนกัน

การต่อสายไฟ มิเตอร์วัดโวลต์
..............................................................................................................
       
สายสีแดง ต่อเข้าไฟบวก 12 โวลต์ หลังสวิตช์ (มีไฟตอนเครื่องยนต์ติด)
สายสีดำ ต่อลงกราวด์ ขันสกรูติดตัวถังรถ
สายสีม่วงเป็นไฟหน้าปัดต่อกับไฟหรี่
การอ่านมิเตอร์วัดบูสต์
.........................................................................................................................................
       
ปกติตอนดับเครื่องยนต์ เข็มจะชี้ที่ 0
เมื่อติดเครื่องยนต์ รถจอด เครื่องยนต์เดินเบา รอบเครื่องยนต์ประมาณ 500-800 RPM (เข้าเกียร์ N หรือ P) เข็มจะชี้ประมาณ -20 in-Hg
เมื่อเข้าเกียร์ ขับรถให้วิ่งปกติ ขับสุภาพเรียบร้อย เข็มจะชี้ขึ้นๆ ลงๆ ต่ำกว่า 0 อยู่ในแดนลบ ถ้าถอนคันเร่ง เข็มจะสวิงต่ำกว่า -20 ลงไป
เมื่อขับเร่งความเร็วปรู๊ด ... กดๆ เหยียบๆ เทอร์โบมันจะอัดอากาศเข้าด้วยแรงดันสูงขึ้น เข็มจะชี้ขึ้นเหนือ 0 บอกแรงดันบูสต์ เช่น 3 ปอนด์ 5 ปอนด์ 7 ปอนด์ หรือสูงกว่า คนเท้าธรรมดาแรงดันบูสต์ 10 ปอนด์ ก็น่าจะพอใช้เหลือเฟือ คนเท้าหนักเขาจะโมฯ เพิ่ม.. ตามที่เขาต้องการ เมื่อมีแรงดันบูสต์สูงในท่อไอดี พอเราชะลอรถ ถอนคันเร่ง แรงดันที่เกินความจำเป็นปลดปล่อยออก เสียงดัง ชิ้ว..ชิบ.. คนขับจะได้อารมณ์ มันส์.. เรียกว่า โบลว์ออฟ (Blow off)

มิเตอร์วัดบูสต์บางยี่ห้อ เขาจะแสดงค่าที่วัด เป็น บาร์ (Bar) ค่า 1 บาร์ เทียบได้กับ 14.504 ปอนด์-ตารางนิ้ว ดังนั้นถ้าบูสต์ 0.5 บาร์ ก็จะประมาณ 7.252 ปอนด์ ค่าบาร์อื่นๆ ลองคิดตัวเลขเทียบเอาเอง

ตัวเซ็นเซอร์วัดบูส

       


แค่นี้การต่อมิเตอร์วัดแรงดันบูสต์เทอร์โบก็เสร็จ พร้อมใช้งาน ลองเอารถไปวิ่งดู แต่อย่ามองเข็มจนเพลินนะครับ ชำเลืองดูนิดหน่อยพออ่านได้ ดูมากอันตรายครับ
เมื่อเทอร์โบบูสต์ ม้าจะออกมาเพ่นพ่านกันหลายตัว รถจะพุ่งเร็วกว่าปกติ เตรียมดึงเชือกหยุดม้าให้ได้ด้วยนะครับ


แซมเปิล .... ที่ติดตั้งแล้ว
..............................................................................................................
       
วัดบูสต์กับวัดโวลต์ของผม ลูกชายเขาติดให้ดังรูปข้างขวา ติดไว้ตรงกลางคอนโซล ใต้วิทยุ ใส่ไว้เฉยๆ ดึงออกได้ ขยับหมุนให้พอดีได้ ดึงออกเอามือล้วงไปจัดการสายไฟข้างในได้ ใส่แล้วก็สวยดี ตอนเปิดมีไฟเรืองแสงที่หน้าปัด เห่อดูตอนแรกๆ ตอนหลังก็ดูบ้างไม่ดูบ้าง หรือดูจนชินแบบไม่รู้สึกตัวก็ได้ครับ ดูด้วยหางตา ...

มิเตอร์ทั้ง 2 ตัวที่ผมติดนี้ นอกจากสวยแล้ว มันยังมีประโยชน์อื่นอีก โดยผมใช้ประโยชน์ดังนี้
1. วัดบูสต์ ตอนวิ่งดูว่าบูสต์แรงดันเท่าไร ในช่วงเดินเบาดูสุญญากาศเพื่อจูนแก๊ส สังเกตความเรียบของเครื่องยนต์
2. วัดโวลต์ ก่อนสตาร์ตดูแรงดันแบตเตอรี ต้องประมาณ 13 โวลต์ (มากกว่า 12 V) ตอนเครื่องยนต์ติดจอดหรือวิ่งวิ่งประมาณ 15 โวลต์ ถ้าเปิดไฟหรืออุปกรณ์อะไรเพิ่มจะทำให้ทราบว่าอะไรทำให้ไฟตกบ้าง คาดคะเนก่อนที่อะไรจะเสีย
หมายเหตุ
ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นอุปกรณ์ฟุ่มเฟือยนะครับ ไม่เกี่ยวกับสมรรถนะของรถ จะว่าเป็นเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่ง หรืออุปกรณ์เสริมสวยๆ งามๆ ก็ได้ ไม่ใช่ของจำเป็น ไม่มีหรือไม่ติด รถก็ยังวิ่งได้ดีตามสภาพของมัน